วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Last words for P, our dear friend

I feel obligated to write something about our beloved friend who recently passed away, P.

I feel the need to write something about him although my head is actually blank.

Maybe, this is what death left for you: the void.

I was completely shocked by the news of his death. No, I’m not that close with him, and yet, I must admit, he’s a good friend and will always be. Perhaps, I was shocked because his death reminds me of how we take lives for granted. Because we are young (more or less), we don’t really expect the arrival of death.

Possibly, this is a result of someone’s death: you’re somehow bitterly enlightened that nothing can be taken for granted.

I remember P the best in our freshmen year at Rangsit campus. There were times me, Tung, Pim, Chu, Some, P, and Nest dined together. There were moments we enthusiastically participated in some silly freshmen year activities. And of course, I always had a fight with P, verbally and physically (well, as you guys know me, he’s not the only male friend I had a fight with…).

I remember there were times I had an emotional breakdown and P was there. He did nothing, but expressing his weird consoling words or just wandering around, feeling awkward not knowing what to do. Yet, I appreciated him for that. I remember him for that moment.

P had his own way to communicate with friends and frequently showing his weird gestures. These always made me feel a little strange when talking to him. Nevertheless, because of his honesty, I can’t deny the fact that he’s one of our dearest friends.

After learning about his death, I discovered that I had a picture of the graduation day that I took with him. The picture probably popped up in my computer screen so many times before, but I’d never made an effort to notice it until he passed away. Seeing the picture gave me some bizarre feelings. I couldn’t cry for his forever departure, and yet, it’s hard not to be emotionally overwhelmed.

Life is a paradox. Everyone knows death comes sooner or later. However, when it really comes, you struggle to deal with it. Buddhism routinely teaches you about detachment. Nonetheless, when someone in your circle is eternally gone, you have a hard time coping with it. As an activist working in a conflict area where lives are taken daily, you believe death is, but the Truth. Still, when it comes to someone you know, you lie to yourself such a truth is not true.

Probably, this is what death reveals to you: paradox.

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Peace activists and some dilemmas with ethnography

There are huge dilemmas of peace activists trying to be ethnographers, especially when you investigate the issue of violence. Well, if you are a normal social scientist researcher, you might find a usual dilemma. For instance, you don’t agree with the ‘ethical stance’ of your informants, but seriously nothing much you can’t do because you want their information and insights.

However, more dilemmas are created when you are a peace activist at the same as a wanna-be ethnographer. But what is it this ethnography thing?

Ethnography is a research methodology widely used among anthropologists and was invented during the time of British colonisation. Initially, ethnographers who were deployed in unknown (and uncivilised) areas, were assigned to take basic notes about the indigenous and their cultures, and to report back to their countries. Then, as you can imagine, these basic notes were pretty much used to support the wiping out of the indigenous. The methodology subsided for a while after the decolonisation period, but it revived and gained popularity among American anthropologists.
From this point on, fundamental tasks of ethnographers are not only to observe and write something called ‘field notes.’ But they are to be ‘neutral’, to be locals, to be something else but not themselves when they are in the ‘field’ (which is different from rice fields, but there are times ethnographers like to do their jobs in the rice fields). Basically, in order to get to the gist of cultures of their studied subjects, they have to see from the locals’ point of view. Ethnographers have to understand not only practices of the locals, but meanings of their practices. Why are they doing so? What is/are their rationality/ties? What is their cosmology? In a nutshell, this is what Clifford Geertz called ‘thick description.’

I’ve never defined myself as an ethnographer although I realise how much I like to observe people in different cultures and am eager to know what they make sense out of their actions. As a matter of fact, I have done sneaky observations for a long while before I knew it was termed ethnography. When I became a researcher myself, this ethnography thing is somehow my main method of ‘knowing’ people living in the zones of the unfamiliar. I thought I could just use the method, but would never immerse myself in it, or let it suck me it. Well, someone must have been right when he said, “When you use the tool, it also uses you.”

I was a researcher for a project which investigates the issue of firearms proliferation and arming civilians in the Deep South of Thailand. No one assigned me to do the ethnography research, but I was curious about activities of some armed militia groups, so much that I accepted their invitation to visit their bases and to witness some activities. It was the most inconvenient situation in my life. I felt like I was involved in some illegal business although it was literally not. I wanted to know about them as much as I could. Yet, at the same time, I totally disagreed with their thoughts, their solutions to the problems, and their activities. I wanted them to trust me, so that I could get more information. Hence, I ‘pretended’ to agree with them. Nevertheless, I was crying in my heart because what they explained to me just revealed some scary scenarios of what Southern Thailand conflict was heading to. Given that, I had to maintain my smile, my nod, and my manners. I felt like shit as if I was cheating somebody; however, I held on to the hope that my work would expose destructive impacts of what they think are appropriate.

It was a suffering moment, indeed. I’ve never thought of myself as a moral person. But with this research and with the method I used, I realised there is something inside telling me that I’m a crappy ethnographer. Why? In such a situation, I was trying to understand why they did so. It was the attempt to get an insight into the unknown world. But at some point, I felt I had enough. I relatively understood them. However, I couldn’t sit there without any judgment. And just for your record, judging the locals is something a decent ethnographer shouldn’t do.

Given all my understanding to the victimsation of these people, I can’t make myself to agree with them, or even if I’m allowed to disagree, I can’t stand myself not judging that their actions are wrong. In the research that entails issues of peace, conflict, violence and nonviolence, if I have to choose between being a peace activist or an ethnographer who prepares herself to become one of the locals in order to get the most insightful analysis, I’d rather be a peace activist. At least, it reminds me of the boundary between action and inaction. At least, it enables me to say that some cultures are wrong and they have to be changed. At least, it permits me to be less culturally relativist.

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พลังประชาชนในบริบทการรัฐประหาร 19 ก.ย.? (People Power in the 19 Sept. Coup E'tat), published in Manager Newspaper in 2006

พลังประชาชนในบริบทการรัฐประหาร 19 ก.ย.?

คณะปฏิรูปในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ให้เหตุผลในการก่อรัฐประหารว่า
1. การบริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐบาลรักษาการณ์ที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทยอย่างรุนแรงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคมไทย
2. การบริหารราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริต ประพฤติมิชอบ และเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องอย่างกว้างขวาง
3. อีกทั้ง มีพฤติกรรมแทรกแซงอำนาจขององค์กรอิสระ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ หรือแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติให้ลุล่วงไปได้...
4. รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองบางโอกาส ยังหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นต่อพระบรมเดชานุ ภาพแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่เคารพเทิดทูนของประชาชนชาวไทย...
(มติชน, 21 ก.ย. 2549)

บนฐานการให้เหตุผลนี้ ประชาชน “ส่วนใหญ่” ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเทเสียงให้แก่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อย่างท่วมท้นจนได้เป็นนายกฯถึงสองสมัย กลับพยักหน้าเห็นด้วย ตลอดจนยินดีปรีดากับการเปลี่ยนนายกฯ ด้วยวิธีการอัน “ไม่ประชาธิปไตย” (หรืออันที่จริงอาจจะเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ?) น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่จะคิดเล่นๆว่า หากรัฐประหารครั้งนี้เกิดเมื่อปลายปีที่แล้ว หรือต้นปีนี้ขณะที่ความรักระหว่างคนไทย รวมถึงกลุ่มชนชั้นนำต่างๆ กับท่าน(อดีต)นายกฯ ยังหวานชื่นอยู่บ้าง การแห่แหนชื่นชมรัฐประหารอาจกลายเป็นอื่น?
ภายใต้เหตุผลชุดเดียวกันนี้ ภาคประชาชนได้ต่อสู้กับสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” ตลอดช่วงครึ่งปีกว่าที่ผ่านมา (หรือบางกลุ่มอาจนานกว่านั้น) แม้จะมีข้อโต้แย้งว่า คนกลุ่มนี้เป็นเพียงชนชั้นกลาง มาประท้วงแก้เหงาดีกว่านั่งเกาพุงอยู่บ้าน หรือกระทั่งถูกชักจูงโดยศัตรูทางการเมืองของท่าน(อดีต)นายกฯก็ตาม แต่ยากจะปฏิเสธได้ว่าคนเรือนแสนบนท้องถนนเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตลอดจนการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ 2 เมษายน ที่ปรากฏคะแนนโนโหวตถึง 9.8 ล้านเสียง และบัตรเสียอีก 3.8 ล้านใบ (นงนุช สิงหเดชะ, “พลังอารยะขัดขืน”, มติชน, 12 เม.ย. 2549) ทั้งยังไม่ต้องเอ่ยถึงปฏิบัติการสันติวิธีต่างๆที่หลายฝ่ายใช้ สามารถงัดอำนาจรัฐบาลและพวกพ้องได้อย่างมหาศาล ทั้งยังถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งสำหรับผู้สนใจสันติวิธี รวมถึงผู้ที่เห็นว่าสันติวิธีไร้น้ำยา
ตารางต่อไปนี้แสดงข้อมูลการใช้สันติวิธีเพื่อกดดันให้ (อดีต)นายกฯทักษิณลาออก ซึ่งผู้เขียนเก็บรวบรวมในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน 2549 เท่านั้น

ประเภท ปฏิบัติการสันติวิธี
1. โน้มน้าว/ชักจูง (Persuasion)
1.1 คำประกาศอย่างเป็นทางการ



1.2 สื่อสารกับสังคมในวงกว้าง









1.3 ชุมนุมในที่สาธารณะ




1.4 เดินขบวน






1.5 ปฏิบัติการเชิงสัญลักษณ์











1.6 ละคร/ ดนตรี/ ตลกหรือกิจกรรมเสียดสี - การยื่นหนังสือ และคู่มือการชุมนุมต่อตำรวจ
- การออกแถลงการณ์ให้ลาออก
- การอ่านคำประกาศไล่
- การยื่นจดหมายแก่สถานทูตสิงคโปร์และคุณหญิงพจมาน

- การแจกคู่มือการชุมนุม
- การแจกคู่มือคว่ำบาตรสินค้าสิงคโปร์
- การถ่ายทอดสดการชุมนุมประท้วงนายกฯ
- การติดป้ายตามสถานที่สาธารณะ
- การจัดเวทีสัมมนาทางวิชาการ
- การแจกใบปลิว
- การเทศน์
- การรณรงค์ “งดออกเสีย” ในการเลือกตั้ง 2 เมษา
- การใช้วลี “ทักษิณ-ออกไป” ตลอดการชุมนุมและเดินขบวน

- การชุมนุมใหญ่เมื่อวันที่ 4 ก.พ., 26 ก.พ., และ 14-15 มี.ค. 2549
- การชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานและหน้าทำเนียบรัฐบาลหลังจากวันที่ 15 มี.ค. 2549
- การชุมนุมย่อยตามที่ต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถานที่ซึ่งเป็น ผลประโยชน์ของตระกูลชินวัตร และตามจังหวัดต่างๆ

- การเดินขบวนมายังท้องสนามหลวง
- การเดินขบวนประท้วงไปยังกระทรวงแรงงานและทำเนียบรัฐบาล
- การเดินขบวนจากสนามหลวงมายังทำเนียบรัฐบาลเพื่อปักหลักชุมนุมประท้วง
-การเดินขบวนจากทำเนียบรัฐบาลไปยังห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน สยามแสควร์ และดิเอ็มโพเรียม
- การใช้วลี “ทักษิณ-ออกไป”

- การเผาโลงศพ และหุ่นจำลอง
- การวางพวงหรีดแสดงความไม่พอใจ
- การตั้งศาลจำลอง หรือ “ศาลประชาชน”
- การผลิตและใช้ธง หมวก ผ้าโพกศีรษะ เข็มกลัดและเสื้อ ที่มีข้อความขับไล่ ล้อเลียน หรือเสียดสีนายกฯ และรัฐบาล
- นำโคที่พ.ต.ท.ทักษิณเคยเทียม ประดับตกแต่งดัวยป้ายขับไล่
- การแต่งชุดดำไปทำงาน
- การสวดมนต์แผ่เมตตา
- การเปิดไฟหน้ารถยนต์
- การวาดภาพล้อเลียนนายกฯ
- มอบดอกไม้แก่เจ้าหน้าที่

- การออกข้อสอบ “ล้อการเมือง” ที่เสียดสีกรณีการทุจริตของพ.ต.ท. ครอบครัว และพรรคไทยรักไทย
- การแสดงดนตรีและ “งิ้วล้อการเมือง”
- การแสดงตลกล้อเลียนการเมือง
- การจัดทำพจนานุกรมเรียบเรียงและให้ความหมายศัพท์ที่ใช้ล้อเลียนเสียดสี
- การจัดมวยจำลอง
2. การไม่ให้ความร่วมมือ
(Non-cooperation) - การล่ารายชื่อถอดถอน
- การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง
- สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจขู่หยุดงานและขู่ลาออก
- การคว่ำบาตรสินค้าสิงคโปร์ และสินค้าในธุรกิจของกลุ่มชินฯ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องการนักการเมืองในพรรคไทยรักไทย
-สหภาพแรงงานการบินไทยเสนอให้พนักงานใช้เทคนิคลาป่วย / อ้างว่าเครื่องบินเสียไม่สามารถให้บริการ หรือทำให้เครื่องบินออกช้ากว่ากำหนด
3. การแทรกแซงโดยตรง
(Direct Intervention) - การนั่งประท้วงเจ้าหน้าที่บนถนน เนื่องจากถูกกักระหว่างการเดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อสบทบกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- การใช้เส้นทางถนนบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อชุมนุมประท้วง ทำให้ถนนเส้นดังกล่าวถูกปิดไปโดยปริยาย
หมายเหตุ: ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์มติชน และเดลินิวส์
การแบ่งประเภทสันติวิธีอ้างอิงจาก ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และคมสัน หุตะแพทย์ (แปล), ไพศาล วงศ์วรสิทธิ์ (บรรณาธิการ), ยีน ชาร์ป (เขียน), อำนาจและยุทธวิธีไร้ความรุนแรง (กรุงเพทฯ: โกมลคีมทอง, 2529)

อาจจริงดังที่หลายคนแอบกระซิบกันว่ารัฐประหาร หรือ “การปฏิรูปการเมือง” ครั้งนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำ เกิดขึ้นโดยชนชั้นนำ และดังนั้นเป็นเรื่องของชนชั้นนำ กระนั้น การเห็นว่าสาเหตุนี้เป็นสาเหตุเดียวที่อำนวยให้การรัฐประหารเกิดขึ้นได้ท่ามกลางความปีติยินดีของผู้คนได้ ก็เป็นเรื่องน่าเศร้ายิ่งนัก
เพราะนั่นเป็นอาการหลงลืม เข้าขั้นความจำเสื่อม ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานเท่าใด ประชาชนคนธรรมดา (ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นลอยฟ้า ชั้นกลาง ชั้นล่าง หรือชั้นใต้ดิน) มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการถอนความชอบธรรมของรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และเมื่อการเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. ความชอบธรรมดังกล่าวก็ถูกถ่ายโอนไปยังคณะปฏิรูปฯ พร้อมดอกไม้ อาหาร และการกลายเป็นดาราของทหารผู้ประจำการอยู่ตามจุดต่างๆ
อย่างไรก็ดี ข้อมูลข้างต้นน่าจะทำให้เห็นว่าหากกิจกรรมเหล่านี้ดำเนินต่อไปจนเสียงซึ่งไม่เห็นด้วย คัดค้าน ต่อต้านกับพฤติกรรมและ/หรือนโยบายของ(อดีต) นายกฯทักษิณ พวกพ้อง และพรรคไทยรักไทย ดังขึ้นเรื่อยๆ ความนิยมอันเป็นฐานความชอบธรรมของ(อดีต)ผู้นำท่านนี้ย่อมลดลงเป็นอัตราผกผัน นั่นหมายความว่า ท่าน(อดีต)นายกฯ อาจระเห็จออกจากตำแหน่งได้ด้วยน้ำมือประชาชน หรือมิเช่นนั้นก็อยู่ในตำแหน่งด้วยอาการกระอักกระอ่วน เนื่องจากถูกตรวจสอบจากผู้คนในสังคมอย่างเข้มงวด (โปรดพิจารณา ผาสุก พงษ์ไพจิตร, “สมมุติว่ารัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไม่ได้เกิดขึ้น”, มติชน, 29 ก.ย. 2549, หน้า 6)
แต่แล้ว กระบอกปืนกับรถถังก็หยิบยื่นแกมบังคับทางเลือกทางการเมืองใหม่ให้เพียงชั่วข้ามคืน ขณะที่คนไทย มิเพียงไม่ต่อต้านขัดขืนใดๆ กลับเห็นว่าหนทางนี้ช่วยตัดตอนปัญหาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ เพราะอย่างน้อยความแตกแยกในบ้านเมืองก็ถูกระงับลง(ชั่วคราว) และ(หวังว่า)อะไรๆในอนาคตจะดีขึ้นเอง ทว่าการเห็นดีเห็นงามเช่นนี้ เท่ากับสังคมไทยได้ปฏิเสธโอกาสในการเรียนรู้ว่าตนมีพละกำลังงัดง้างอำนาจทรราชย์เพียงไร... หรือบางทีวิ่งหลบหลังฮีโร่ แล้วร้องไชโยเมื่อก๊อตซิล่าตายอาจง่ายกว่า?


จันจิรา สมบัติพูนศิริ
ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ
มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา

ความเคยชินและน้ำตา (Tears and Getting Used to It), published in Matichon Newspaper in 2004

ความเคยชินและน้ำตา
“ระเบิดหน่ะเหรอ...ชินซะแล้ว มันเกิดขึ้นทุกวันจนเป็นเรื่องปกติ วันไหนไม่มีนี่สิผิดปกติ”
“ถามว่ากลัวมั้ย...มันชินมากกว่า ถ้ามัวแต่กลัวก็ไม่ต้องทำอะไรพอดี”

ในช่วงเวลานี้ หากใครสักคนเริ่มต้นทักทายผู้คนในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ด้วยคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์และความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงที่ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง คำตอบที่ได้ถ้าไม่ใช่ประโยคข้างต้นก็ใกล้เคียง...ผู้เขียนได้ยินท่วงถ้อยแห่งความเคยชินนี้เป็นครั้งแรกในวงสนทนาตามประสาผู้หญิง หลังการรับประทานอาหารกลางวันในงานสัมมนา “สานใจ ห่วงใยครอบครัว และชุมชนใต้” กระนั้น บทสนทนาเนื่องด้วยความเคยชินจากเหตุรุนแรงดังกล่าว มิได้เจือปนด้วยน้ำเสียงโศกสลดแต่ย่างใด ตรงกันข้ามกลับกลายเป็นตลกขำขัน ซึ่งช่วยย่อยอาหารกลางวันมื้ออร่อยที่เพิ่งผ่านพ้นไป...ใช่ มันอาจตลก แต่ก็เป็น “ตลกร้ายที่น่าเศร้า”...
ลองคิดดูเล่นๆว่า ตอนเด็ก เราต้องใช้เวลาเรียนรู้ในการแปรงฟันและปฏิบัติเป็นประจำ นานเท่าใดกว่าจะกลายมาเป็นความเคยชิน จนเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวัน ถ้านึกไม่ออก...สำหรับคนในเมือง ลองสมมุติว่าหากต้องอยู่บ้านที่ติดถนนใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยเสียงรถรา เสียงโหวกเหวกของผู้คน ร้านค้า และเครื่องจักร...นานเท่าไหร่กว่าจะคุ้นชิน จนรู้สึกว่าหากไม่ได้ยินเสียงที่ว่านี้วันใด ก็เหมือนขาดอะไรบางอย่าง จนถึงขั้นนอนไม่หลับก็เป็นได้...จากมุมมองของคนสามัญธรรมดา คงเข้าใจได้ไม่ยากว่า “ความเคยชิน” ย่อมเกิดจากการกระทำ หรือถูกกระทำ ซ้ำๆ ย้ำๆ เป็นประจำ จนอาจจะถึงวันละหลายๆครั้ง และในที่สุดสิ่งนั้นได้กลายเป็น “ความปกติ” หรือเป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของชีวิต ซึ่ง “ความปกติ” ดังกล่าวมีลักษณะเหมือน “Present Perfect” คือ เกิดขึ้นเป็นประจำตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะดำรงต่อไปในอนาคต...
คำถามคือ เสียงปืน ระเบิด และการข่มขู่ อันนำมาซึ่งความหวาดกลัวจนถึงความสูญเสีย เป็นสิ่งที่ “พึง” เคยชินหรือไม่? หรือเอาเข้าจริงแล้ว มนุษย์เราแทบไม่มีทางเลือกเลยว่าจะคุ้นชินหรือไม่คุ้นชินกับสิ่งใด ตรงกันข้ามความคุ้นชินที่บังเกิดขึ้นกลับ “shape” ตัวตนและวิถีชีวิตของเรามากกว่า...
ในช่วงเวลาสั้นๆ (1-2 วัน) ที่ผู้เขียนมีโอกาสใช้ชีวิตในจังหวัดยะลาเป็นครั้งแรก...ภาพความวุ่นวายอันเกิดจากเหตุวิสัญญีรายวันที่สื่อนำเสนอนั้น ได้ถูกชะล้างและแทนที่ด้วยความสงบเรียบง่ายของวิถีชีวิตผู้คนที่นี่...ภาพในยามเย็นที่ผู้คนทุกเพศทุกวัยมุ่งหน้าสู่สวนสาธารณะเพื่ออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ (ที่น่ารักที่สุดเห็นจะเป็นผู้หญิงมุสลิมคลุมฮิญาบเต้นแอโรบิก...) รวมถึงบ้านเมืองที่สะอาด พร้อมด้วยอากาศที่แสนสดชื่น พอๆกับรอยยิ้มและมิตรจิตมิตรใจที่ชาวบ้านละแวกนั้นมอบให้แด่ผู้เขียนซึ่งเป็นคนแปลกหน้าในพื้นที่ สิ่งเหล่านี้ยิ่งตอกย้ำวิถีชีวิตที่แสนปกติของผู้คนที่นี่...
อย่างไรก็ดี “ความปกติ” ที่ว่านี่ ต่างจาก “ความเคยชิน” ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เนื่องเพราะภายใต้ความชาชินต่อเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่ ยังมีเรื่องเล่าและเสียงร้องเบาๆจากผู้คนตัวเล็กตัวน้อยที่ที่ถูกกระสุนปืนและความตายคร่าการดำรงชีวิตที่เคยเป็น “ปกติ” อันส่งผลให้ ความสูญเสียและความขาดหายเข้ามาแทนที่ สิ่งเหล่านี้ที่ชาวบ้านในพื้นที่กำลังบอกกับเราว่า “เขาชิน” ...ต่อไปนี้คือเรืองราวที่กำลังจะกลายเป็นความเคยชิน
...หญิงคนหนึ่งสูญเสียสามีจากการลอบยิง โดยขณะนี้ยังไม่สามารถจับตัวคนร้ายได้ เธอกลายเป็นหม้ายและลูกเป็นกำพร้า นอกจากนี้ สองแม่ลูกยังประสบกับภาวะ “aftershock” กล่าวคือ สามี (ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ) มักกลับจากการออกเวรในช่วงราวๆตี2เป็นประจำ ทำให้เธอและลูกมักสะดุ้งตื่นในช่วงเวลานี้เนื่องจากคิดว่าสามีหรือพ่อกลับมาบ้าน เธอกล่าวด้วยน้ำตาเจิ่งนองบนใบหน้าว่า... “อยากให้คนที่ทำร้ายและฆ่าสามีมารับรู้ความรู้สึก...เค้าไม่มีหัวใจหรือไง...หัวใจเค้าทำด้วยอะไร”
...หญิงอีกคน สามีถูกทำร้ายด้วยอาวุธมีดและได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาล ทันทีที่รู้เรื่องเธอรีบตามไปโรงพยาบาล ด้วยความหวังอันริบหรี่ ทั้งๆที่ขณะนั้นสามีของเธอได้เสียชีวิตแล้วแต่ไม่มีใครกล้าบอกเธอ เมื่อถึงโรงพยาบาล เธอเห็นสามีนอนอยู่บนเตียง และคิดว่าเขากำลังเข้าสู่ห้วงสุดท้ายของชีวิต เธอพยายามช่วยให้สามีกล่าวบทสวดตามหลักศาสนาอิสลามก่อนสิ้นใจ เพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์ไปพบพระเจ้า แต่เธอสังเกตว่าลิ้นของผู้ที่เป็นสามีแข็งราวกับคนตาย และทันใดนั้นเธอได้ยินเสียงวิทยุตำรวจจากเพื่อนของสามีที่ยืนอยู่ข้างๆรายงานว่าสามีของเธอได้เสียชีวิตแล้ว หัวใจของเธอเหมือนถูกตัวขั้วเมื่อพบว่าตนเองไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้แม้กระทั่งหน้าที่สุดท้ายของภรรยา... “รู้ซึ้งในคราวนี้ว่าการสูญเสียสามีเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่...แล้วต่อไปนี้เรากับลูกจะอยู่อย่างไร” เธอถ่ายทอดเรื่องราวด้วยเสียงอันสั่นเทา
...ขณะฟังเรื่องราวของหญิงทั้งสองคน เด็กชายอายุราว 12 ปี ที่นั่งอยู่ด้านหลัง ฟุบหน้าลงและร้องไห้ ในตอนแรกผู้เขียนเข้าใจว่าเด็กเป็นลูกของหญิงคนใดคนหนึ่งที่กำลังเล่าเรื่องอยู่ แต่หลังจากได้พูดคุย กลับได้พบความจริงที่น่าสะเทือนใจพอๆกันว่า พ่อของเด็กซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านถูกยิงเสียชีวิตไปเมื่อ ปี 2545 และเมื่อได้ยินเรื่องราวที่คล้ายคลึงกัน จึงคิดถึงพ่อขึ้นมาจับใจ รวมทั้งยังสะท้อนภาพวินาทีสุดท้ายที่ตัวเองได้เห็นขณะพ่อขณะสิ้นลม ราวกับตะกอนนอนก้นที่ถูกกวนให้ขุ่นขึ้นมาอีกครั้ง
ระหว่างที่เรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอด ผู้คนในห้องต่างนั่งฟังด้วยความนิ่งเงียบ ท่ามกลางน้ำตาที่หลากหลั่งของทั้งเพื่อนในพื้นที่ 3 จังหวัด และคนต่างถิ่นจากกรุงเทพฯอย่างพวกเรา...คำถามต่อจากข้อกังขาต่อความเคยชินที่ผู้เขียนได้ตั้งไว้ข้างต้น คือ หากน้ำตาเป็นตัวแทนแห่งความเห็นอกเห็นใจ และเป็นสายใยเชื่อมโยงเรื่องราวทุกข์เศร้าของปัจเจกและผู้คนในสังคมไว้ “ความเคยชิน” กับน้ำตาย่อมเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันอย่างยิ่ง เนื่องเพราะ หากผู้คน “ชาชิน” กับความสูญเสีย ย่อมไม่มีอารมณ์โศกสลดใดๆ จนถึงขั้นต้องหลั่งน้ำตาร้องไห้ออกมา อีกทั้งผู้เขียนเห็นว่า “ความเคยชิน” เป็นฆาตรกรชั้นดีที่ฆ่าความเห็นอกเห็นใจซึ่งมนุษย์พึงมีให้กันอย่างเลือดเย็น... เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่น่าเป็นไปได้ว่าผู้คนในพื้นที่จะชาชินต่อความรุนแรงที่ดำรงอย่างต่อเนื่องตลอดมา หากแต่เป็นการบดบังและกดทับความโศกเศร้าอันเกิดจากความสูญเสีย รวมถึงความเครียดและความหวาดระแวงซึ่งทวีขึ้นเรื่อยๆ และรอวันที่จะระเบิดออกมา ผู้เขียนได้แต่ภาวนาขออย่าให้มีวันนั้นเลย

“ A life in which people made do, made their own, lived off the land, lived between the ground and God. It’s lost, not only to this world but also to memory”
- Garrison Keiller
Hog Slaughter -

“ผู้หญิง” ในความรุนแรง และสันติภาพของสามจังหวัดภาคใต้ (Women, peace and violence in the Deep South of Thailand), published in Matichon in 2005

“ผู้หญิง” ในความรุนแรง และสันติภาพของสามจังหวัดภาคใต้

ช่วงบ่ายของวันที่ 19 พฤษภาคม ครูสาวจากจังหวัดเชียงราย จูหลิง ปงกันมูล และศิรินาฏ ถาวรสุข แห่งโรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ถูกจับเป็นตัวประกันโดย “กลุ่มชาวบ้านจำนวนกว่า 100 คน ทั้งหญิงและชาย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่า” (มติชน, 21 พ.ค. 2549-เน้นโดยผู้เขียน) ทั้งนี้ คาดว่าเพื่อต่อรองให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยชาย 2 คน ที่ถูกจับกุมในคดีก่อความไม่สงบตอนเช้าวันของเดียวกัน ต่อมา “เริ่มมีเสียงร้องออกมาจากห้องที่ครูสาวทั้งสองถูกกักขัง กลุ่มผู้หญิงได้เริ่มทำร้ายครูโดยใช้ไม้ทุบตีปะปนกับเสียงร้องไห้ของเพื่อนครูที่พยายามร้องขอชีวิตจากกลุ่มหญิงเหล่านั้น” (เพิ่งอ้าง-เน้นโดยผู้เขียน) ในที่สุดครูสาวทั้งสองได้รับการช่วยเหลือออกมาได้โดยผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ครูจูหลิงมีอาการบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากถูกท่อนไม้ทุบตามศีรษะและลำตัว ขณะนี้ร่างของครูยังคงนอนสงบนิ่ง มีเพียงเครื่องมือแพทย์ที่ยังยืนยันลมหายใจอันแผ่วเบาของเธอ
เหตุสลดล่าสุดที่เกิดขึ้นกับครูสาวทั้งสอง โดยเฉพาะการทำร้ายครูจูหลิง ไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่ผู้หญิงกลายเป็น “เหยื่อ” ของสถานการณ์ความรุนแรงที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องยืดเยื้อในสามจังหวัดภาคใต้ กระนั้นกลับเป็นเหตุการณ์แรกที่ผู้ก่อความรุนแรงถูกรับรู้ว่าเป็น “ผู้หญิง” กอปรกับในช่วงหลังมักมีข่าวหนาหูจากฝ่ายความมั่นคงว่า “กลุ่มภรรยาเครือญาติของแนวร่วมขบวนการก่อการร้ายได้รับการฝึกฝนและเข้ากระจายตัวความหมู่บ้านต่างๆในสามจังหวัดภาคใต้ เพื่อปฏิบัติก่อเหตุได้ทุกเมื่อ” (มติชน, 4 พ.ค. 2549-เน้นโดยผู้เขียน) หากข่าวเช่นนี้มีเค้ามูลความจริง ใครหลายคนอาจคิดเดาไปว่า ในเช้าอากาศดีวันหนึ่ง ผู้หญิงมุสลิมบางคนบางกลุ่มนึกอยากช่วยสามีหรือลูกชายที่เป็นผู้ก่อความไม่สงบทำงานด้วยการฝึกอาวุธและยุทธศาสตร์การสงครามต่างๆ เมื่อสำเร็จการฝึกฝนก็เกิดอยากทำร้ายชาวบ้าน เข่นฆ่าเจ้าหน้าที่ขึ้นมาทันที อย่างไรก็ดี หากเลือกพิจารณาสถานการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ด้วยอาศัยสายตาและเรื่องเล่าของแม่และเมียผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ ถูกจับกุม หรือถูกอุ้มหาย ทั้งรายวันและเหตุการณ์ใหญ่ ทั้งพุทธ มุสลิม รวมทั้งฝั่งเจ้าหน้าที่และชาวบ้าน ภาพความรุนแรงซึ่งกัดกินสังคมมาเป็นเวลายาวนาน ย่อมปรากฏอย่างสลับซับซ้อน และอาจช่วยให้เข้าใจความบังเอิญอย่างจงใจที่ผู้หญิงเข้าเกี่ยวข้อง โยงใยในสายธารแห่งความรุนแรงได้มากขึ้น
คำถามแรกที่ควรถาม แต่ไม่ใคร่ถูกถามคือ เกิดอะไรกับผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นแม่ ภรรยา น้องสาว ลูกสาว และเครือญาติผู้หญิงในครัวเรือนแบบขยายของมุสลิม ท่ามกลางสถานการณ์รุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ตลอดช่วงเวลาสองปีกว่าที่ผ่านมา? คำตอบแรกที่ตรงกันคือ แม้ว่าผู้หญิงในพื้นที่จะมิได้เป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงโดยตรง (อย่างน้อยในช่วงแรก) แต่การที่ผู้ชายในบ้านเสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ ถูกจับกุม หรือหายไป ทำให้ “ความปกติ” ของชีวิตที่มีมาแต่เดิมนั้นถูกแทรกแซงอย่างช่วยไม่ได้ กล่าวคือ ความยากจนที่หลายครอบครัวครอบครองอยู่เดิมนั้น ได้โถมทับชีวิตที่ขาดหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำมาหากินมากขึ้น อาทิเช่น หญิงหม้ายซึ่งมีลูกจำนวนมากต้องทำงานเลี้ยงชีพเพียงลำพัง ทั้งเพื่อค่าอาหาร ค่านมให้ลูกที่ยังเล็ก รวมถึงค่าเทอมเพื่อส่งเสียให้ลูกๆได้เรียนสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เมื่อกำลังของผู้หญิงคนเดียวไม่สามารถจุนเจือคนในครอบครัวได้ทั้งหมด ลูกชาย ลูกสาวที่โตหน่อยจึงต้องจากโรงเรียนกลางคันเพื่อช่วยแม่ กรีดยาง เย็บผ้าคลุมผม ทำสวนผลไม้ หรือใช้แรงงานในมาเลเซีย ตารางการทำงานของผู้หญิงคนหนึ่งหลังจากสูญเสียลูกชายในเหตุการณ์ตากใบ อาจทำให้เห็นภาพดังกล่าวได้ชัดเจนมากขึ้น “ฉันตื่นตีสี่เพื่อกรีดยาง สายๆไปทำนา เย็นกลับมาบ้านทำกับข้าว ดึกเย็บผ้าคลุมผมถึงตีสอง จากนั้นก็นอน ไม่นานก็เริ่มงานของวันใหม่” ทั้งยังไม่นับพ่อแม่ที่แก่ชรา ซึ่งถึงเวลาที่ลูกชายจะเลี้ยงดูให้สุขสบายขึ้นบ้าง กลับต้องทำงานอย่างหนักโดยฝืนกับสภาพร่างกายที่อ่อนเปลี้ยโรยรา เพื่อเลี้ยงดูและส่งเสียหลานกำพร้าซึ่งลูกที่เสียชีวิต หาย หรือพิการได้ทิ้งไว้... ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ผู้หญิง (รวมถึงผู้ชายที่เป็นพ่อซึ่งชรา และเป็นลูก) ต้องประสบพบเจอไม่เป็นข้อยกเว้นสำหรับใคร ไม่ว่าจะเป็นพุทธ มุสลิม เจ้าหน้าที่หรือชาวบ้าน
นอกจากปัญหาข้างต้น ซึ่งใครหลายคนอาจพบทางสว่างแก้ปัญหานี้ได้ด้วย “เงิน” หรือความช่วยเหลือในลักษณะสังคมสงเคราะห์ต่างๆ สิ่งสำคัญซึ่งมักไม่ได้รับการพิจารณาในฐานะส่วนหนึ่งของปัญหาคือ การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของบุคคลอันเป็นที่รักได้สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้กับครอบครัวอย่างสุดซึ้ง และในบริบทความรุนแรงเช่นนี้ย่อมง่ายที่ความขับข้องใจ หวาดกลัว ระแวง ตลอดจนโกรธแค้นจะแฝงฝังอยู่กับผู้ซึ่งถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง และถ้าภาพรวมแบบหละหลวมที่ว่า “สงคราม” ครั้งนี้ผู้ชายเป็นตัวแสดงหลัก คือข้อเท็จจริง ผู้หญิงซึ่งถูกกันออกจากอาณาบริเวณความรุนแรง (ในลักษณะการเผชิญหน้าโดยตรง) ต้องเป็นผู้แบกรับภาระทางอารมณ์นี้ กล่าวแบบลงจากหอคอยงาช้างก็คือ แม่และเมียย่อมร่ำไห้ เสียใจกับการจากไปของลูกและคนรัก แม่และเมียคร่ำเครียดว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับชีวิตนับจากนี้ แม่และเมียที่อยู่ในบ้านเพียงลำพังหวาดกลัวการลาดตระเวน รวมถึงเข้าตรวจค้นของทหารในยามวิกาล แม่และเมียอึดอัด คับข้อง ไม่เข้าใจว่าทำไมลูกและคนรักของตนจึงเสียชีวิต บาดเจ็บ และถูกจับกุมเป็นเวลานานโดยปราศจากความช่วยเหลือของกระบวนการยุติธรรมในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง แม่และเมียหวาดระแวง เพราะเพื่อนบ้านต่างศาสนาที่เคยโอภาปราศรัย มีน้ำใจต่อกันกลายเป็น “คนอื่น” ที่ไม่น่าไว้วางใจ ฯลฯ
แม้ว่าเหตุการณ์ในพื้นที่จะมีความคลุมเครือในแง่ผู้กระทำและแรงจูงใจทางการเมืองเช่นไร แต่ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่มิอาจปฏิเสธได้คือ ผู้หญิงไม่เคยอยู่นอกวังวนแห่งความรุนแรงอย่างแท้จริง เพียงแต่ผลกระทบที่ได้รับหลบหลืบอยู่ตามซอกมุมต่างๆ ด้วยอาศัยเส้นแบ่งบางๆระหว่างสมรภูมิและครัวเรือนมาปิดบังซ่อนเร้นเท่านั้น สภาวะข้างต้นอาจเป็นเชื้อไฟอย่างดีที่สร้าง “ความเป็นไปได้” และแนวโน้มที่ผู้หญิงจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในฐานะ “ผู้กระทำความรุนแรง” มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะการลุกขึ้นป้องกันตนเองหรือชุมชนด้วยการติดอาวุธ (กรณีการฝึกปืนให้อาสาสมัครหญิงในพื้นที่ถือเป็นตัวอย่างหนึ่ง) เนื่องจากรัฐล้มเหลวในการปกปักษ์ชีวิตพลเมือง ขณะเดียวกัน ความรู้สึกคับแค้นของผู้หญิงที่เผชิญกับความอยุติธรรม โดยเฉพาะจากรัฐ อาจนำไปสู่การเลือกใช้ความรุนแรงเพื่อสถาปนาความยุติธรรมนั้น กรณีเช่นนี้เห็นได้ชัดจากกลุ่มหม้ายดำ (Black Widows) แห่งเชเชน รวมถึงการเข้าร่วมกองกำลังปฏิบัติการของผู้หญิงในกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬ อีแลม เป็นต้น
คำถามที่สองคือ นอกเหนือจากความเป็นไปได้ที่ผู้หญิงจะ (เลือก) ใช้ความรุนแรงในบริบทสถานการณ์สามจังหวัดภาคใต้แล้ว ความเกี่ยวข้องของผู้หญิงในลักษณะดังกล่าว มีความหมายต่อการมองสถานการณ์ความรุนแรงที่เปลี่ยนไปอย่างไร?
ประการแรก เมื่อเส้นแบ่ง (หากมีอยู่จริง) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยกันผู้หญิงให้อยู่นอกสนามรบที่ถูกนิยามโดยความเป็นชาย (masculinity) กำลังพร่าเลือน ย่อมหมายความว่าในสายตาของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง “ทุกคน” มีความเป็นไปได้ที่จะเป็น “โจร/ผู้ก่อการ” รวมทั้งทุกกิจกรรมมีแนวโน้มจะเกี่ยวข้องกับการสนับสนุน “ผู้ก่อการ” ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นผู้สนับสนุนคือพวกเดียวกับผู้ก่อการ ในแง่นี้กิจวัตรประจำวันของผู้หญิง เช่นการหุงหาอาหาร หรือการให้ที่พักอาศัยแก่ญาติหรือคนในครอบครัวที่เป็นผู้ชาย อาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของ “ภัยคุกคามความมั่นคง” แห่งรัฐได้ และดังนั้นเมื่อความรุนแรงทวีขึ้น ผู้หญิงจึงกลายเป็นผู้ต้องสงสัยและถูกจับกุมเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
ประการที่สอง เมื่อสถานการณ์ความรุนแรงกลางเมืองในหลายประเทศดำเนินถึงจุดหนึ่ง ผู้หญิงซึ่งธำรงสัญลักษณ์ “ความบริสุทธิ์” เป็นเกรียติยศ และเป็น “แม่” ของชุมชนมักถูกทำร้ายและเข่นฆ่าในรูปแบบต่างๆ เพื่อประหัตประหารศัตรูหรือฝ่ายตรงข้าม (ซึ่งผู้ชาย) ในทางสัญลักษณ์ โดยเฉพาะการข่มขืนซึ่งในหลายกรณีเป็นการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และอาจกระทำโดยฝั่งรัฐ อาทิเช่น ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างรัฐบาลทหารพม่าและชนกลุ่มน้อย การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา บอสเนีย และนานกิง เป็นต้น แม้เหตุการณ์ในสามจังหวัดภาคใต้อาจยังไม่ปะทุถึงระดับดังกล่าว(?) หากแต่การเกี่ยวข้องกับความรุนแรงของผู้หญิงในฐานะผู้กระทำการ ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีเค้ามูลความจริงหรือเป็นความหวาดระแวงของรัฐก็ตาม แต่จากข้อวินิจฉัยประการแรก อาจกลายเป็นเหตุอันชอบธรรมและเพิ่มจำนวนผู้สมัครพรักพร้อมใช้ความรุนแรงต่อต้านรัฐ (และตัวแทนของรัฐ ซึ่งอาจรวมถึงพลเมืองแห่งรัฐด้วย) เพื่อพิทักษ์ศักดิ์ศรีของชุมชนไว้ ซ้ำร้ายไปกว่านั้นสถานการณ์ที่บานปลายเช่นนี้อาจทำให้สายสัมพันธ์ระหว่างไทยพุทธ และมุสลิมในพื้นที่ย่ำแย่กว่าเดิมได้
สิ่งเลวร้ายยิ่งกว่าสถานการณ์ในสามจังหวัดภาคใต้ที่เกิดขึ้นไม่ว่างเว้น คือการยอมจำนนต่อภาพความรุนแรงซึ่งบีบคั้นให้เห็นแต่ “ความชั่ว” ของ “พวกมัน” อีกทั้งยังปิดบังดวงตาให้มืดบอดจากความหวังในการแก้ไขปัญหาโดยใช้สันติวิธีเป็นทางเลือกหลัก... จริงอยู่แม้สภาพการณ์ของผู้หญิงข้างต้นอาจแสดงถึงความหวังอันริบหรี่ในการไขว่คว้าหาสันติภาพ แต่ต้องไม่ลืมว่าภาพทั้งหมดนี้ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวและมิได้วิ่งสู่ทิศทางเดียวกัน เนื่องจากในขณะนี้ผู้หญิง (ในแง่นี้รวมถึง “ความเป็นหญิง” หรือ femininity ที่มิได้หมายความเฉพาะเพศทางกายเท่านั้น) มีส่วนสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนสันติวิธี และเป็นหน่ออ่อนแห่งสันติภาพในพื้นที่
สิ่งที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คนในสังคมคือ คุณภาพแห่งการให้อภัยของแม่ซึ่งมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่องานสมานฉันท์ โดยเฉพาะจากคำกล่าวของนางคำมี ปงกันมูล มารดาครูจูหลิง ซึ่งแม้จะอยู่ท่ามกลางความโศกสลด และกระพือลมแห่งความคั่งแค้นของผู้คนในสังคม แต่ก็ยังยืนยันว่า “ไม่อยากให้คนเหล่านี้ไปทำร้ายใครอีก และเข้าใจว่าเป็นกลุ่มเล็กๆเท่านั้น เพราะคนใต้ส่วนใหญ่น่ารัก” รวมถึงแม่ของผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ตากใบจำนวนมากได้ถือว่าความตายของลูกชายเป็นสิ่งที่พระเจ้ากำหนดไว้ และไม่โกรธแค้นเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มผู้หญิงมุสลิมที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากเหตุการณ์ 28 เมษา ซึ่งได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับภรรยาเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นคนไทยพุทธในพื้นที่ ได้เอ่ยถ้อยคำกินใจว่า “รู้สึกเห็นอกเห็นใจ เขาก็รู้สึกเหมือนที่เรารู้สึก จะไปโทษเขาก็ไม่ได้ เพราะเรื่องราวที่เกิดขึ้น เขาก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร หรือใครเป็นคนทำ ...เราก็รู้สึกสงสารไม่รู้จะไปโทษใคร อยากฝากถึงเจ้าหน้าที่ทุกคนให้ช่วยดูแลกันและกัน”
ในแง่ปฏิบัติการสันติวิธี ภาคประชาสังคมในพื้นที่ได้สร้างเครือข่าย “สตรีกับสันติวิธี” โดยมุ่งให้ผู้หญิงเป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสันติวิธีที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและศาสนา รวมถึงโครงการที่กำลังดำเนินการในเบื้องต้นได้แก่ สันติวิธีชุมชน นอกจากนี้ยังมีดำริริเริ่มจากชาวบ้านในตันหยงลิมอเรื่องการเยียวยาจิตใจคนในชุมชน หรือกลุ่มผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ตากใบได้เสนอให้มีโครงการฝึกอบรมสันติวิธีแก่เยาวชนในพื้นที่ และทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในความพยายามของผู้หญิงและ “ความเป็นหญิง” เพื่อสร้างความสมานฉันท์ให้กลับคืนสู่สามจังหวัดภาคใต้อีกครั้ง

จันจิรา สมบัติพูนศิริ
ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา

จากยะลาถึงกทม. (From Yala to Bangkok), published in Isara News Agency

จากยะลาถึงกทม… ว่าด้วยสันติวิธี และการเมืองเรื่อง “พื้นที่”

จันจิรา สมบัติพูนศิริ
สันติวิธีสากล และศูนย์ข่าวสารสันติภาพ มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา

ที่หน้าประตูมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา รถราและยานพานหนะจำนวนหลายกระหยิบมือ ถูกเจ้าหน้าที่โบกให้จอด การจราจรที่ปกติไม่ใคร่จะแออัดเพราะสถานการณ์อันไม่ปกติ ก็ดูติดขัดคล้ายบริเวณแยกราชประสงค์แถวกรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ทหาร ทหารพราน ตำรวจ หน่วยจู่โจม และหน่วยชื่อย่ออื่นๆอีกมากมายที่ผู้เขียนจำชื่อเต็มไม่ได้ เดินกันให้ขวักไขว่ ราวกับว่าประชาชนน่าจะอุ่นใจหากปืนไรเฟิลของพี่ๆเจ้าหน้าที่แกว่งไกวอยู่ใกล้ๆ... ผู้เขียนเองไม่พ้นถูกขอให้ลงจากยานพาหนะซึ่งมีผู้อนุเคราะห์ขับมาส่ง หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจกระเป๋าแล้ว ผู้เขียนก็ไถลกายผ่านเครื่องตรวจระเบิด ครั้นเมื่อเข้ามายังบริเวณมหาวิทยาลัย ผู้เขียนก็อัศจรรย์ใจอย่างสาหัสกับจำนวนเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจพร้อมอาวุธครบมือ (แว่วมาว่ามีประมาณ 1,200 ถึง 1,400 นาย) เพราะไม่แน่ใจว่าตัวเองมางาน “มหกรรมสันติวิธี” หรือปฏิบัติการซ้อมรับมือกลุ่มก่อการร้าย

เมื่อสืบเสาะถึงที่มาของระบบตรวจเข้มเหล่านี้ ผู้เขียนจึงถึงบางอ้อว่างานนี้ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ มาเป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถานำ จึงไม่น่าแปลกใจที่บรรยากาศช่วงเช้าของงานวันแรกจึงดูราวกับปฏิบัติการซ้อมรบ... โชคดีที่ได้งานขายสินค้าโอทอปด้านหน้าช่วยบันดาลบรรยากาศให้คึกคัก แม้ผู้เขียนยังไม่อาจเชื่อมโยงได้ว่าสินค้าโอทอปเป็นเครือญาติฝ่ายใดกับสันติวิธีก็ตาม นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการเปิดตัวและแสดงผลงานขององค์กรรัฐ และไม่สังกัดรัฐ รวมถึงกลุ่มประชาสังคมรากหญ้าที่ทำงานด้านสันติวิธี มีภาพวาดเกี่ยวกับสันติภาพและสันติวิธี มีเวทีเสวนาเรื่องสันติวิธีจำนวนมาก มีการแสดงบนเวทีด้านหน้าที่เกี่ยวโยงกับสันติวิธี มีชาชักสันติวิธี ข้าวยำสันติวิธี และไม้เกาหลังยี่ห้อ “สันติวิธี”...

แม้ว่างานนี้ผู้เขียนจะรู้สึกสำเริงสำราญใจไปกับ “สันติวิธี” (จนกลับไปนอนละเมอเพ้อพกด้วยวิธีสันติ) แต่ในฐานะผู้สนใจและนักเรียน “สันติวิธี” สิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่างานมหกรรมสันติวิธีครั้งที่สามนี้มีคุณค่ายิ่งนัก คือ “การสร้างพื้นที่แห่งการผ่านพบ” (Space of encounter) นั่นคือ สถานที่ (place) ที่ใช้จัดงาน – มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา – ได้กลายสภาพจากสถานที่ทางกายภาพเป็นพื้นที่ทางสังคม (social space) ซึ่งเอื้อให้ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความขัดแย้งรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งปกติไม่ใคร่จะโคจรมาเจอกัน ได้มาอยู่รวมกัน แม้อาจไม่พูดคุย แต่ก็ผ่านพบกัน
เจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะฝ่ายปฏิบัติการะดับล่างที่ถูกระดมมากว่าพันนาย ปกติได้ยินนโยบายสันติวิธีจากนายเท่านั้น แต่อาจไม่แน่ใจว่าไอ้สันติวิธีนี่หน้าตามันเป็นอย่างไร มีหูตาจมูกปากเหมือนมนุษย์เดินดินทั่วไปหรือไม่ อย่างน้อยในงานนี้พวกเขาได้เดินลาดตระเวนผ่านบอร์ดนิทรรศการเกี่ยวกับสันติวิธี หยุดมองบ้าง หยุดอ่านบ้าง ทำหน้าเบ้ไม่เห็นด้วยบ้าง บางคนก็(แอบ)หยุดฟังพวกนักปฏิบัติการสันติวิธีคุยกัน ถึงแม้ไม่ตั้งใจรู้จักสันติวิธี แต่อย่างน้อยก็ได้ผ่านพบกับมัน

ชาวบ้านทั้งไทยพุทธและมลายูมุสลิมได้พูดคุยพบปะ เล่าเรื่องราวสารทุกข์สุขๆดิบๆสู่กันฟัง เรื่องลูกชายจะแต่งงานก็อาจเป็นเรื่องใหญ่ในการสนทนาที่กลบความสำคัญของงานสันติวิธี บางคนที่ไม่เอ่ยปากพูดคุยด้วยเพราะเป็นคนแปลกหน้า และระดับความไว้วางใจที่ลดต่ำ แต่ยังถือว่าเป็นโอกาสดีที่ได้ผ่านพบกัน ณ พื้นที่นี้
บรรดาNGOsที่มักออกแถลงการณ์ประนามเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ได้เห็นมิติความเป็น “มนุษย์ปกติ” ของเจ้าหน้าที่ตัวเล็กตัวน้อย ซึ่งบ้างก็พร่ำบ่นคิดถึงบ้าน บ้างก็ปลีกตัวออกไปสร้างงานศิลปะในลักษณะที่งานซึ่งทำอยู่ไม่อำนวยให้แสดงพรสวรรค์ด้านนี้มากนัก และบ้างก็ปรบมือหัวร่อไปกับการแสดงบนเวที... ภาพเช่นนี้คงไม่ได้เห็นกันง่ายๆ หากมิใช่พื้นที่แห่งการผ่านพบ
นักศึกษาบางคนที่ถูกเพ่งเล็งจากเจ้าหน้าที่รัฐว่าอาจเป็นแนวร่วมกับฝ่ายผู้ก่อการก็เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับสันติวิธี เจ้าหน้าที่หลายนายไม่ใคร่ละวางความระแวงสงสัยจึงส่ง “สายลับ” มาร่วมกิจกรรมกับนักศึกษาเหล่านี้ด้วย แม้ว่าจบงานนี้ ชื่อของนักกิจกรรมวัยกระเตาะอาจยังคงอยู่ใน blacklist ของเจ้าหน้าที่ แต่มหกรรมสันติวิธีคงเป็นหนึ่งในไม่กี่พื้นที่ที่เขาเหล่านี้ไม่ถูกจับหรือตามล่าเมื่อ “ผ่านพบ” กับเจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนเจ้าหน้าที่เองอย่างน้อยก็ได้มีประสบการณ์ผ่านพบกับแง่มุมแบบนักเคลื่อนไหวด้านสังคมของเยาวชนในพื้นที่ ซึ่งมิใช่ “ผู้ก่อสถานการณ์รุนแรง” เสมอไป
...
จากยะลากลับมากรุงเทพฯ สันติวิธียังคงเป็นอะไรที่...ฮิตติดดาว... พันธมิตรฯขอแจมใช้สันติวิธี รัฐบาลน้าหมักก็อยากร่วมขบวนรถไฟสันติวิธีด้วย กระนั้นก็ดี เหตุปะทะระหว่างพันธมิตรฯและนปช.เมื่อวันที่ 2 กันยายน ส่งผลให้สังคมไทยตั้งคำถามกับตัวตนของสันติวิธี ผู้คนเริ่มไม่แน่ใจว่าการพกปืนผาหน้าไม้ (กอล์ฟ) ของทั้งพันธมิตรฯ และนปช. (แม้จะอ้างว่าเพื่อป้องกันตัว) และการยั่วยุต่อกัน จนนำไปสู่การปะทะ เป็นสันติวิธีที่หลืบไหน ท่ามกลางการใช้ความรุนแรงในนามสันติวิธี กลุ่มคนที่ได้ชื่อว่าเป็น “พลังเงียบ” เริ่มส่งเสียงไม่เห็นด้วยกับสัญญาณการระบาดของความรุนแรงดังกล่าว หนึ่งในนั้นคือบรรดานักปฏิบัติการสันติวิธีที่ผู้เขียนรู้จักมักคุ้นอยู่บ้าง ซึ่งรวมตัวรวมหัวกันเพื่อประกาศ “พื้นที่สันติ”
อันที่จริงแนวคิดในตอนแรกคือการจัดตั้ง buffer zone เพื่อกันไม่ให้เกิดการปะทะระหว่างพันธมิตรฯและนปช.อย่างเมื่อวันที่ 2 กันยา รวมถึงโน้มน้าวให้ทั้งสองฝ่ายปลดอาวุธ แต่ยังสามารถดำเนินการประท้วงต่อไปได้... เมื่อผู้เขียนได้ฟังแนวคิดในหนแรกก็รู้สึก “ปอดแหก” ขึ้นมาตะหงิดๆ ด้วยกลัวว่าศพที่อยู่ระหว่างการปะทะของคนสองกลุ่มที่ไม่เห็นอีกฝ่ายเป็น “คน” อาจดูอุจาดตาเมื่อปรากฏบนหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่ง ประกอบกับยังนึกไม่ออกว่ากิจกรรมนี้จะช่วยลดอุณหภูมิการเมืองได้อย่างไร
“เอาก็เอาวะ!” เป็นเพียงวลีเดียวที่ทำให้ความอยากรู้อยากเห็น ออกหมัดแบบพี่สมจิตรน้อคชนะความปอดแหก จนพาสองขามายังอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ในบ่ายวันศุกร์ที่ 5 กันยายน ได้... เมื่อสองขาพามา สองตาก็กวาดมองไปทั่วห้องประชุม คะเนได้ว่ามีอาสาสมัครราว 30 คน กำลังวางแผนเดินขบวนเพื่อเปิดพื้นที่สันติบริเวณหน้าที่ทำการกองทัพบก ณ จุดที่เกิดนองเลือด เข้าใจว่า “พลังปอดแหก” ของผู้เขียนมีรังสีลี้ลับแรงกล้า จนกลายเป็นว่าในที่สุดแนวคิดการจัดตั้ง buffer zone โดยภาคประชาชนอาจต้องพักไว้ก่อน กิจกรรมหลักตอนนี้คือปฏิบัติการสันติวิธีเชิงสัญลักษณ์ เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการใช้อาวุธและความรุนแรงในการต่อสู้ทางการเมือง และเรียกร้องให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายคำนึงถึงผลกระทบของความรุนแรงต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์...
หากใครเดินผ่านไปมาบนท้องถนนราชดำเนินเมื่อบ่ายวันที่ 5 กันยา คงเห็นคนจำนวนหนึ่งเดินถือป้ายผ้าสีขาว “พื้นที่สันติ” แจกแผ่นสติกเกอร์ “ไม่เอาความรุนแรง” และพักหอบแฮ่กๆเป็นระยะเนื่องด้วยวัยวุฒิที่เพิ่มขึ้นแปรผกผันกับสภาพร่างกาย ระหว่างทาง ประชาชนรอบข้างทั้งให้กำลังใจและเย้าแหย่ (อาแปะคนหนึ่งแกยื่นสติกเกอร์ “ไม่เอาความรุนแรง” ให้เพื่อน แล้วเอ่ยแกมหยอกว่า “อ่ะ... เอาไปให้เมียที่บ้าน”) ในที่สุดพวกเราก็มาถึงหน้าที่ทำการกองทัพบก ด้วยความร่วมมือของพี่ๆตำรวจจราจรและหน่วยควบคุมฝูงชนที่เข้าใจดีว่าพวกเรามาด้วยเจตนาสันติ แม้ดูหน้าแล้วบางคนอาจยังฉงนว่าไอ้พวกนี้แบกป้ายผ้าเดินมาตั้งไกล แถมยังมีกล้วยไม้สีขาว จะมาไหว้เจ้าที่หรือไร...

สายฝนเริ่มโปรยปราย อาสามัครทั้งหมดยืนล้อมรอบป้ายผ้า “พื้นที่สันติ” เป็นวงกลม นารี เจริญผลพิริยะ (หรือที่รู้จักกันในหมู่ชาวบ้านว่า “คุ้งบางกรวย”) นักปฏิบัติการและนักฝึกอบรมสันติวิธีผู้คร่ำหวอดในวงการ ให้สัญญาณแรกจากระฆังประจำกาย พวกเราทั้งหมดยืนสงบนิ่ง (ยกเว้นลิ่งค่างอย่างผู้เขียนที่ยังคงรัวชัตเตอร์กล้องถ่ายรูปต่อไป) เมื่อเสียง “กริ๊ง” ครั้งที่สองดังขึ้น ทีมงานจึงโปรยดอกกล้วยไม้สีขาวที่เตรียมมา พร้อมกับสายฝนที่ยังคงตกพรำ ดอกกล้วยไม้สีขาวเข้าครอบครองพื้นที่ตรงกลางวงกลม ราวกับกำลังเปลี่ยนความทรงจำของความรุนแรงและความตาย ณ ที่นี้ ให้กลายเป็นความหวังที่ทุกฝ่ายจะเห็นคุณค่าของชีวิต... หลังจากนั้นพี่นารี จึงกล่าวไว้อาลัยแต่คุณณรงค์ศักดิ์ กรอบไธสง ผู้ตกเป็นเหยื่อในเหตุปะทะเมื่อวันที่ 2 กันยา และย้ำเตือนให้เห็นว่าการใช้ความรุนแรงในการเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งทางการเมืองรังแต่จะนำมาซึ่งความสูญเสีย

แม้ว่าเป้าหมายของกิจกรรมครั้งนี้คือการประกาศเจตนารมย์ของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับความรุนแรง รวมถึงการกำหนดให้พื้นที่ที่เกิดการปะทะไปแล้วหรือมีแนวโน้มจะเกิดการปะทะ เป็นพื้นที่สันติ ผู้เขียนกลับเห็นว่า ในอีกทางหนึ่งปฏิบัติการครั้งนี้เป็นปฏิบัติการแย่งชิงความหมายของพื้นที่ นั่นคือ การประกาศว่าการปะทะบริเวณหน้ากองทัพบกมิใช่ความยิ่งใหญ่ หรือชัยชนะของคู่กรณีไม่ว่าฝ่ายไหน แต่เป็นความพ่ายแพ้... พ่ายแพ้ในการพิทักษ์ชีวิตผู้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองของฝ่ายตน พ่ายแพ้ที่ปล่อยให้ความเกลียดชังเข้าครอบงำจิตใจตน พ่ายแพ้ที่ไม่มิอาจโอบอุ้มสันติวิธี (ที่แต่ละฝ่ายอ้าง) ให้เป็นพลังอันชอบธรรมในการต่อสู้ทางการเมืองได้... ปฏิบัติการโดยคนธรรมดาไม่มากกว่า 30 คน ต่างหากกลับกลายเป็นพลังกู่ก้องให้กับผู้คนในสังคมได้รู้ว่า ต่อจากนี้ พื้นที่ไร้ความรุนแรง จะขยายจากบริเวณซึ่งเกิดการปะทะเมื่อวันที่ 2 กันยา ไปยังที่อื่นๆของประเทศ ตลอดจนความขัดแย้งจะต้องไม่นำไปสู่ความเกลียดชังและการลดทอนความเป็นมนุษย์ของฝ่ายตรงข้าม

จากยะลาถึงกทม... หลายคราผู้เขียนลังเลต่อการปลาบปลื้มกับสันติวิธีที่นับวันจะกลายเป็น cliché แห่งชาติ สันติวิธีที่เป็นวลีโก้เก๋ซึ่งทำให้การจัดนิทรรศการและการเสวนาทางวิชาการดูอินเทรนด์ไม่หยอก รวมถึงสันติวิธีที่แยกไม่ออกระหว่างการนั่งประท้วงกับการใช้ปืนปะทะ แต่ก็อีกหลายคราที่ผู้เขียนยังคงเชื่อว่าสันติวิธีเป็นพลังซึ่งเปิดพื้นที่-ทางออกอันสร้างสรรค์ให้กับสังคมการเมือง
ประสบการณ์จากมหกรรมสันติวิธีที่ยะลาแสดงให้เห็นว่าที่จริงแล้ว “งานสันติวิธี” อาจมิใช่เพียงการออกร้าน นิทรรศการและมหรสพทางวิชาการ แต่อาจรวมนัยที่ลึกซึ้งกว่านั้น นั่นคือการสร้างพื้นที่แห่งการผ่านพบ ซึ่งเอื้อให้เกี่ยวกับข้องกับปัญหาความขัดแย้งรุนแรง ได้มาอยู่ในสถานที่เดียวกัน เปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดจนเป็นแรงบันดาลใจในการก้าวข้ามความเป็นศัตรูต่อกัน... เรื่องราวจากนักปฏิบัติการสันติวิธีเพื่อสร้างพื้นที่สันตินั้น ช่วยให้เห็นถึงการต่อสู้เพื่อแย่งชิงความหมายของพื้นที่ และช่วงชิงความทรงพลังของสันติวิธี กล่าวคือ การพลิกฟื้นพื้นที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์นองเลือดนับเป็นปฏิบัติการสันติวิธี ขณะเดียวกันสันติวิธีชนิดที่เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ถือเป็นสันติวิธีที่ทรงพลังยิ่งกว่าแบบที่ผูกตนเองอยู่กับความเกลียดชัง... และนี่คือพื้นที่ทางเลือกซึ่งเปิดให้กับการมองสันติวิธีในฐานะ “ทางเลือก” เพื่อออกจากกับดักแห่งความรุนแรง

เรื่องเล่าแห่งความกลัว (Narratives of Fear), published in Matichon in 2005

เรื่องเล่าแห่งความกลัว

“เราจะไม่ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ 2 คนตายฟรี” “นี่คือการกระทำของสัตว์เดรัจฉาน” “ท่านผู้ฟังครับ ไอ้พวกนี้มันไม่ใช่คนไทย คนไทยไม่มีทางฆ่าคนไทยด้วยกันเองแบบนี้เด็ดขาด” “ทำไมเจ้าหน้าที่ไม่แก้ปัญหาด้วยการปิดหมู่บ้านและฆ่ามันทั้งหมู่บ้านเลย” ฯลฯ...
วันที่ 22 กันยายน ขณะที่ฉันกำลังออกเดินทางจากกรุงเทพฯสู่นราธิวาส สังคมไทยกำลังเต็มไปด้วยอุณหภูมิแห่งความโกรธาอันเป็นปฏิกริยาต่อเหตุการณ์รุนแรงครั้งล่าสุดที่หมู่บ้านตันหยังลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส sms ที่ปรากฏตามรายการวิเคราะห์ข่าวต่างๆและข้อความในweb board ถือได้ว่าเป็นปรอทวัดอารมณ์ของสังคมไทยในขณะนี้ได้อย่างดี... ปฏิกิริยาเหล่านี้ทำให้ฉันตั้งคำถามต่อความโกรธของผู้คนในสังคม ณ ห้วงเวลานี้ 2 ประการ ประการแรก ฉันไม่แน่ใจว่าการระเบิดอารมณ์โกรธต่อเหตุการณ์รุนแรงที่ตันหยงลิมออยู่บนฐาน “เรื่องเล่า” หลักเพียงเรื่องเดียวอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหรือไม่? ถ้าใช่ อารมณ์โกรธนั้น ควรถูกสงสัยมากน้อยเพียงใด ประการที่สอง สมมุติว่า “เรื่องเล่า” ของเหตุการณ์นี้มีหลายเรื่อง และแต่ละเรื่องโยงใยกันอย่างสลับซับซ้อนจนไม่สามารถแยกแยะได้ว่าใครคือพระเอกหรือผู้ร้าย ฉันใคร่อยากตั้งคำถามง่ายๆต่อไปว่า เรากำลังโกรธ “ใคร”? และโกรธเพื่อออะไร?
รถตู้แล่นผ่านด่านตรวจทหารปากทางเข้าหมู่บ้านตันหยงลิมอ ทันทีที่รถจอด ทหารนายหนึ่งซึ่งมีสีหน้าเหนื่อยล้าอย่างสุดขีดเดินเข้ามาตรวจตรารถตามหน้าที่ หลังจากที่หนึ่งในทีมงานของเราแสดงหลักฐานการเป็นตัวแทนของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ซึ่งได้รับมอบหมายภาระกิจให้เยี่ยมครอบครัวของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ยิงร้านน้ำชาเมื่อวันที่ 20 กันยายน เจ้าหน้าที่ก็ปล่อยให้พาหนะของพวกเราผ่านเข้าไปอย่างไม่รีรอ... ขณะที่รถกำลังแล่นเข้าหมู่บ้านฉันรู้สึกหายใจติดขัดอย่างบอกไม่ถูก พลันความกลัวก็ปรากฏตัวอยู่ตรงหน้า อาจเพราะ “เรื่องเล่า” กระแสหลักที่ได้รับรู้มีส่วนทำให้ฉันรู้สึกเช่นนั้นไม่น้อย เมื่อลงจากรถ ทีมงานซึ่งเป็นผู้หญิงทั้งหมดเดินตรงไปยังบ้านหลังหนึ่งที่กำลังมองพวกเราด้วยสายตาหวาดระแวง อย่างไรก็ดี ภายหลังจากที่บทสนทนาด้วยภาษาท้องถิ่นเริ่มต้นขึ้น ความหวาดระแวงที่ว่าดูเหมือนจะบรรเทาเบาบางลงไปบ้าง... จากบทสนทนาสั้นๆนำไปสู่เรื่องเล่า ซึ่งเข้าซ้อนทับและสั่นคลอนการครอบงำของเรื่องเล่าหลักว่าด้วย “สังหารโหดนาวิกโยธิน” อย่างมหาศาล ฉันขอเรียกเรื่องเล่าทั้งสามเรื่องต่อไปนี้ว่า “เรื่องเล่าแห่งความกลัว

เรื่องแรก วันที่ 20 กันยายน หลังจากการละหมาดในช่วงหัวค่ำ ชาวบ้านได้ยินเสียงปืนรัวเร็วที่ร้านน้ำชาของหมู่บ้าน หลายคนรีบวิ่งไปดูที่เกิดเหตุ พบผู้ที่ถูกยิง 6 คน หนึ่งในนั้นเสียชีวิตทันที ที่เหลือถูกส่งไปยังโรงพยาบาล ต่อมาเด็กชายวัยเพียง 16 ปี ลูกชายที่น่ารักของครอบครัวเล็กๆครอบครัวหนึ่งได้เสียชีวิตลงท่ามกลางธารน้ำตาของผู้เป็นพ่อแม่ จากนั้นอีก 5 นาที ขบวนรถของเจ้าหน้าที่ก็มาถึง ทั้งที่ยังไม่มีผู้ใดไปแจ้งความ ข่าวแพร่สะพัดไปทั่วหมู่บ้านว่าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ครั้งนี้ ต่อมามีเสียงประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงที่มัสยิด พร้อมกับการเคาะไม้ทั่วทั้งหมู่บ้าน อันเป็นดั่งสัญญาณเตือนภัย กลุ่มคนกรูออกไปยังที่เกิดเหตุและพบรถของเจ้าหน้าที่ซึ่งมาถึงได้ไม่นานนัก ทั้งหมดรีบกลับขึ้นรถและออกจากหมู่บ้านไปอย่างทันควัน กระนั้นรถยนต์ของนาวิกโยธินสองนายดูเหมือนจะมีปัญหาบางประการจึงออกรถไปไม่ได้ ชาวบ้านจึงเข้าจับตัวนายทหารทั้งสอง ต่อมาเมื่อตรวจภายในรถพบว่ามีปืนเอ็ม16 วางอยู่ที่เบาะ โครงเรื่องแห่งความกลัวที่มีต่อเจ้าหน้าที่อยู่ดั้งเดิมผสานกับการตีความหลักฐานในรถ (ซึ่งภายหลังมีผู้ยืนยันว่าเป็นปืนคนละประเภทกับที่ใช้ก่อเหตุในร้านน้ำชา) รวมถึงอาการ “หนี” ของเจ้าหน้าที่ ทำให้ชาวบ้านตีความการปรากฏตัวของเจ้าหน้าที่ภายหลังเกิดเหตุการณ์เพียง 5 นาที ว่างานนี้คือฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐ และหากมิใช่ฝีมือเจ้าหน้าที่ เหตุใดเมื่อชาวบ้านเข้าล้อม จึงต้องรีบรุดออกจากที่เกิดด้วย... ทหารนาวิกโยธินทั้งสองนายได้ถูกนำตัวมาคุมขังในอาคารซึ่งไม่ห่างจากมัสยิดเท่าใดนัก การจับกุมนี้กินเวลายาวนานข้ามคืน โดยมีกลุ่มผู้หญิงและเด็กล้อมบริเวณอาคารไว้ ขณะเดียวกันได้มีการชุมนุมที่ปากทางเข้าหมู่บ้านเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ผู้ที่ถูกยิงในร้านน้ำชาเมื่อคืนวาน นอกจากนี้ ชาวบ้านยังขอให้สื่อมาเลเซียเข้าทำข่าวการชุมนุม ด้วยเกรงความไม่เป็นกลางของสื่อไทย เวลาล่วงเลยไปถึงบ่ายแก่ของวันที่ 21 หลังจากละหมาด มีเสียงประกาศจากมัสยิดว่าทหารได้เข้าล้อมป่ายางและกำลังจะปิดหมู่บ้านเพื่อปราบปราม ผู้หญิงและเด็กที่ล้อมอาคารหลังนั้นอยู่จึงรีบรุดไปที่ป่ายาง โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือ ทหารนาวิกโยธินสองนายถูกสังหารด้วยอาวุธที่หาได้ง่ายบริเวณที่คุมขัง อย่างไรก็ดี แม้คำอธิบายต่อจุดเปลี่ยนของเหตุการณ์ครั้งนี้จะมีหลายชุด และไม่มีผู้ใดสามารถยืนยันอย่างแน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงวินาทีนั้นได้ แต่คำอธิบายหนึ่งที่น่าสนใจคือ โศกนาฏกรรมครั้งนี้อาจมีเหตุมาจาก “ความกลัว” กล่าวคือ ข่าวลือที่แพร่สะพัดว่าเจ้าหน้าที่กำลังล้อมปราบจากทางป่ายาง ทำให้ชาวบ้านบางส่วนไม่แน่ใจว่าสิ่งที่จะเผชิญต่อไปคือความเป็นหรือความตาย ทั้งที่อาจไม่มีเจตนาให้การจับกุมนาวิกโยธินสองนายนี้นำไปสู่การฆ่า

เรื่องที่สอง ภายหลังเกิดเหตุกราดยิงที่ร้านน้ำชา เจ้าหน้าที่มายังจุดเกิดเหตุทันทีเพื่อเก็บหลักฐาน ช่วงที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นได้มีกลุ่มชาวบ้านมุ่งตรงมายังร้านน้ำชา พร้อมกับมีการประกาศด้วยข้อความบางอย่างเป็นภาษามาลายูที่มัสยิด เจ้าหน้าซึ่งโดยสารรถมาสามคันคือ รถหุ้มเกราะ รถกระบะ (ขาวแดง) และรถยนต์ ตีความลักษณะการกระทำและสายตาของชาวบ้าน ณ วินาทีนั้นว่า มี “สัญญาณแห่งความหวาดระแวง”และมีท่าทีคุกคาม ด้วยความกลัวว่าสัญญาณเช่นนี้อาจนำไปสู่ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยกับเหตุการณ์โจรนินจา เจ้าหน้าที่ทั้งหมดรีบวิ่งกับไปที่รถ ซึ่งในขณะนั้นรถกระบะได้มีคนขับนั่งอยู่ในรถและติดเครื่องเอาไว้พร้อมแล้ว บางส่วนจึงขึ้นไปยังท้ายรถกระบะ จากนั้นจึงขับออกไป ขณะที่นาวิกโยธินสองนายที่เหลืออยู่ต้องไขกุญแจรถ อีกทั้งลักษณะการจอดรถ ไม่สามารถทำให้รถสามารถแล่นออกจากหมู่บ้านได้ในทันที นายทหารทั้งสองจึงถูกกลุ่มชาวบ้านเข้าล้อม และจับเป็นตัวประกันในเวลาต่อมา วันรุ่งขึ้นชาวบ้านได้ชุมนุมบริเวณทางเข้าหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่เห็นว่าเหตุการณ์นี้มีผู้ยุยงปลุกปั่น และมีความพยายามให้ความขัดแย้งขยายเป็นความรุนแรงระหว่างรัฐกับชาวบ้านเช่นเดียวกับเหตุการณ์ตากใบ แม้จะมีความพยายามใข้การเจรจาอย่าง “สันติวิธี” ขณะเดียวกันก็หาวิธีช่วยให้ตัวประกันออกมาอย่างปลอดภัย แต่แล้วชั่วโมงแห่งความตึงเครียดอันยาวนานก็จบลงด้วยความตายของทหารนาวิกโยธินสองนายนี้... นายทหารผู้ใหญ่ท่านหนึ่งกล่าวกับนักฝึกอบรมสันติวิธีซึ่งอยู่ในช่วงท้ายของเหตุการณ์ในวันนั้นว่า “ผมพยายามใช้สันติวิธีมาเป็นเวลา 20 ชั่วโมงแล้ว....” ประโยคขาดห้วนไป มีเพียงสายตาแดงก่ำที่ไม่แน่ใจนักว่าเป็นผลจากความเหนื่อยล้า หรือความเศร้าโศกต่อการจากไปของลูกน้องทั้งสองคน

เรื่องที่สาม ทันทีที่เห็นดวงตาอันเหนื่อยอ่อนและเข็มเกร็งของชาวบ้านซึ่งมองตรงมายังทีมงาน ฉันรู้สึกได้ถึงความตึงเครียดอันเป็นผลจากความกลัวที่ลุกล้ำเข้ายังทุกอณูในหัวใจของผู้คน ขณะที่บทสนทนาระหว่างชาวบ้านละแวกนั้นกับหนึ่งในทีมงานว่าด้วยความกลัวอันเกิดจากการลาดตระเวนของทหารในยามวิกาลที่บ่อยครั้ง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นยังมีการบุกค้นบ้านด้วยท่าทีข่มขู่คุกคาม, กำลังดำเนินอยู่ ฉันพลันเหลือบไปเห็นเพื่อนมุสลิมปลุกปลอบเมาะ(ยาย)คนหนึ่งซึ่งกำลังร่ำไห้ ภายหลังเพื่อนคนนี้เล่าให้ฟังว่า เมาะเล่าถึงสภาพในหมู่บ้านว่าตอนนี้ไม่มีใครทำมาหากินได้เลย เพราะทุกคนกลัว สุขภาพกายสุขภาพใจก็แย่ลงทุกวัน บ้านก็อยู่ไม่ได้ ต้องมานอนรวมกันที่บ้านใดบ้านหนึ่ง... ร้องไห้เพราะความคับแค้นใจในชีวิตที่ปกติก็ยากจนค้นแค้นอยู่แล้ว ยังต้องมาเจอกับควานรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิต และความตายที่ไม่รู้ว่าจะมาเคาะประตูบ้านเมื่อไหร่... จากนั้นสายลมแห่งความกลัวพาพวกเราไปยังบ้านของแม่คนหนึ่งที่เพิ่งสูญเสียลูกด้วยน้ำมือมัจจุราชไร้หน้า หญิงวัยกลางคนเล่าถึงคืนเกิดเหตุที่ร้านน้ำชาและความเป็นอยู่หลังจากวันนั้นว่า “หลังจากละหมาดเย็นนั้น ลูกไปร้านน้ำชา และไม่กลับมาอีกเลย... ลูกชายคนนี้เป็นเด็กดี ชอบทำงาน ไม่เคยเที่ยวเตร่ พอหลังจากทำงานก็ไปละหมาดที่มัสยิดทุกวัน... ตอนนี้เครียดมากเรื่องที่ไม่สามารถทำบุญ 7 วันให้ลูกได้ เพราะกลัวว่าถ้าจัดงานอะไรช่วงนี้จะไม่ปลอดภัย” ฉันถามถึงกระบวนการยุติธรรมภายหลังเหตุการณ์ หญิงผู้นั้นตอบด้วยสายตาและสีหน้ากังวลว่า “ไม่อยากให้สอบสวนอะไร มอบให้เป็นหน้าที่ของพระเจ้าไปแล้ว ตอนนี้แค่อยากทำมาหากินตามปกติยังไม่ได้เลย...” ชายอีกคนที่นั่งห่างออกไปเสริมว่า “ตอนกลางคืนกลัวมาก รูไส้เดือนยังอยากจะเข้าไปอยู่เลย พูดเสียงดังก็ไม่ได้ ไม่กล้าพูด เวลานอนก็ต้องมานอนรวมกันหลายๆคนในห้องครัว (ที่ลึกเข้าไปในตัวบ้าน - ผู้เขียน) เพราะกระสุนทะลุกำแพงซีเมนต์ไม่ได้... ตอนนี้ไม่อยากให้ทหารออกมาตอนกลางคืน ถ้าอยู่ก็อยู่ประจำที่ อย่าออกมาเดินเพ่นพ่าน แค่เห็นชุดสีเชียวที่มีปืนห้อย และได้ยินเสียงเฮลิคอปเตอร์บินก็กลัวมากแล้ว”

ฉันเห็นอะไรจากเรื่องเล่าทั้งสามนี้?
อย่างแรก ฉันเห็นตัวตนอันแทบจะว่างเปล่าของสิ่งที่เรียกว่า “ความจริง” เรื่องเล่าที่หนึ่งและสองแสดงให้เห็นว่าผู้คนรับรู้สิ่งต่างๆและตีความตามโครงเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างมี... วลีที่ว่ามนุษย์เราต่างมีโลกใบเล็กคนละใบที่เลือกรับรู้สิ่งต่างๆตามประสบการณ์ที่มีอย่างจำกัดจำเขี่ยของตัวเอง น่าจะพิสูจน์ได้ชัดจากกรณีนี้ กระนั้นก็ตาม ฉันคิดว่าสิ่งหนึ่งเราอาจทำได้เพื่อให้การรับรู้ของเราขยายใหญ่ขึ้นไม่มากก็น้อย คือการสงสัยและตั้งคำถามต่อความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของเรื่องเล่าที่อ้างตัวว่าเป็น “ความจริง” อีกทั้งพยายามโดดเข้าไปในเรื่องเล่าของผู้อื่นดูบ้าง เผื่อโลกใบเล็กของเราจะมีเรื่องเล่าหลายชุด หลายแบบ
อย่างที่สอง ฉันเห็นการปะทะกันของความหวาดกลัวอันนำไปสู่ความรุนแรงซึ่งต่างฝ่ายต่างเชื่อว่าเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดในการออกจากความกลัวนั้น สิ่งที่น่าสนใจคือ ทั้งความกลัวและความรุนแรงทำงานร่วมกันดั่งขดลวดที่ม้วนหมุนไปราวกับไม่มีวันสิ้นสุด ท้ายที่สุดแล้ว ความกลัวอันนำไปสู่การใช้ความรุนแรงนั้นเวียนวนเข้ากัดกินจิตใจของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน หรือทหารที่ดูเหมือนปราศจากซึ่งความหวาดหวั่นต่อภยันตรายด้วยมีอาวุธปกปักษ์อยู่พร้อมสรรพ...
หากสมมุติว่า จากสิ่งที่ฉันเห็นบนฐานเรื่องเล่าทั้งสามทำให้เราก้าวข้ามข้อเท็จจริงที่ไม่ลงตัวทั้งหลายมาด้วยกัน และนำมาสู่ข้อสรุปประการหนึ่งที่ว่าโศกนาฏกรรมครั้งนี้เป็นผลจากการตีความตามโครงเรื่องซึ่งเต็มไปด้วยสาบสางแห่งความหวาดกลัวของแต่ละฝ่าย และด้วยข้อสรุปนี้ ทำให้เราไม่แน่ใจว่าอาจเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและโยนบาปผิดให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ เนื่องเพราะสภาพความกลัวที่ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ต้องเผชิญล้วนมีหน้าตาคล้ายคลึงกัน อีกทั้งต่างฝ่ายต่างเผชิญกับความเหนื่อยล้าทางร่างกายและจิตใจไม่ต่างกันเท่าใดนัก และที่สำคัญทั้งชาวบ้านและทหารที่ปฏิบัติการในพื้นที่ย่อมต้องการให้ความรุนแรงที่ดำเนินอยู่สิ้นสุดลงในเร็ววันเพื่อกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติเช่นเดิม... สมมุติต่อไปว่า หากความไม่แน่ใจนี้โยงไปสู่ความไม่รู้ว่าจะเอาความโกรธไปวาง ณ ตำแหน่งแห่งหนใด ด้วยเพียงแค่เรื่องเล่าสามเรื่องที่พัวพันซ้อนทับกันอยู่ ยังไม่สามารถทำให้หาเหตุผลอันชอบธรรมให้แก่โทสะโกรธาได้ และหากเรื่องเล่าของเหตุการณ์มีมากกว่านี้ การหาเหตุให้ความโกรธของเรามิยากยิ่งขึ้นหรือ?? มาถึงตรงนี้ ฉันอยากให้ผู้อ่านกลับไปที่ย่อหน้าที่สองของบทความ และทบทวนว่าจะตอบคำถามสองข้อนั้นอย่างไร
ก่อนที่ฉันจะเดินทางออกจากหมู่บ้านตันหยังลิมอมีเรื่องราวเล็กๆที่อยากนำมาเล่าสู่กันฟัง ขอตั้งชื่อเรื่องนี้ว่า “เรื่องเล่าว่าด้วยช่องว่างแห่งความกลัว”
ขณะที่พวกเรากำลังพูดคุยอยู่กับพ่อแม่ของเด็กชายที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ยิงร้านน้ำชา เจ้าหน้าที่ทหารสองนายขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมาและเข้ามาถามไถ่ เมื่อเราพยายามกลับไปสนทนากับชาวบ้านต่อ แม่ของเด็กชายเอ่ยขึ้นเป็นภาษามาลายูว่า “ช่วยบอกทหารทีว่าเราเป็นผู้เสียหาย ไม่ใช่คนร้าย ไม่ต้องมาตรวจบ่อย เรากลัว” ภายหลังจากล่ามแปลข้อความดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ฟัง เจ้าหน้าที่จึงตอบกลับว่า “ไม่ต้องกลัวทหารหรอก เพราะทหารมารักษาความปลอดภัยให้ชาวบ้าน” จากนั้นหนึ่งในทีมงานอธิบายต่อเจ้าหน้าที่ว่า “จริงๆแล้วชาวบ้านเค้าไม่ได้กลัวคุณ แต่เค้ากลัวเครื่องแบบกับอาวุธที่คุณถือ”... ฉากเล็กๆนี้ แสดงให้เห็นว่า ทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ต่างเก็บงำความกลัวไว้ในโลกของตัวเอง ด้วยไม่สามารถพูดคุยหรือสื่อสารได้โดยตรง ผลคือต่างฝ่ายต่างตีความการกระทำของกันและกันตามกรอบความคิดของตนเอง อย่างร้ายที่สุด เจ้าหน้าที่ตีความว่าชาวบ้านมีพฤติกรรมเข้าข้าง “ผู้ก่อการ” หรือกระทั่งเป็น “ผู้ก่อการ” เสียเอง ส่วนชาวบ้านตีความการปรากฏตัวทุกครั้งของเจ้าหน้าที่ว่าเป็นการมาเยือนของมหันตภัยชุดเขียว สิ่งที่สำคัญของบทสนทนาสั้นนี้คือ ในความกลัวมีช่องว่างที่อนุญาตให้ “คนกลาง” หรือ “ฝ่ายที่สาม” ช่วยให้การสื่อสารความคิด ความต้องการของแต่ละฝ่ายเป็นไปได้ นี่เองคือจุดเริ่มต้นของการสัมผัสเรื่องเล่าของผู้อื่นและช่วยให้แต่ละฝ่ายออกจากโลกแห่งการตีความตามการรับรู้ของตัวเอง เพื่อให้เห็นแง่มุมที่หลากหลายของกันและกันมากขึ้น อันนำไปสู่การตัดวงจรแห่งความกลัวอันเป็นฟันเฟืองหนึ่งของความรุนแรงได้ในที่สุด

จันจิรา สมบัติพูนศิริ
ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ
มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

See lives through death

Just recently my neighbour committed suicide. In my life, I have witnessed those falling victims in conflict affected areas. I have seen children who were badly injured by some heartless bombers. I have looked into the eyes of a blind landmine survivor, and yet saw no eyes. I have come across tough lives of displaced kids along Thai-Burmese border. But never once in my life had I experienced someone killing himself.

I didn’t know him. Not even recognised his face. People said he was a happy-go-lucky young man, with Asian blood, perhaps a Singaporean. I had not heard anything about him until that evening. I heard his neighbor crying, his brother weeping, the sound of body being moved, cops investigating someone upstairs. I sunk deep in my thinking. It is just sad to see a seemingly delightful person decided to leave this world. More sadly, no one knew, not even his family members, why he made this decision. I was told he overdosed. It could be true because I studied from home on that paricular day and didn’t hear anything, until that burst of weeping for this departure.

I live in Melbourne, Australia. A developed city, people believe. But as are people in many big cities, ‘Melbourners’ are deep down lonely. Lives can be so hard and yet, no one to turn to. There are those under economic stress, those who are desperate to find lovers, those who can’t find lovers so they divert their love to their pets instead, and yes, those who go out every Friday and Saturday, spending shallow lives in pubs and bars. If you watch Australian TV, there will be daily complaints of how terrible their lives are. I do agree, but not because to the degree that their lives are materially bad. They are just spiritually lost.

This is my second time in Australia. Before this, I spent almost two in Brisbane (the third biggest city, which someone claimed that Perth is rated the same. This mean Sydney and Melbourne is the first and second biggest city. The rest is average. However, the smallest, the most boring and lifeless can’t be other cities, but Canberra). As much as I like Australia and fair-go aussies, I have always had a feeling there is something missing in this country. One day I found. It is the sense of spirituality. Not in the sense of religiousness, though. But it is something beyond human knowledge to hold on to, such as people in Thailand believe in horoscope, black magic, and sacred trees, you name it.

Don’t take me wrong. I’m not a BIG fan of ‘superstition’. But in the age of extreme rationality of modernity, humans tend to be overly confident in their own capacities. Nothing can’t be explained by science. Australia is in many ways like that. Because it is a relatively new country (after having wiped out indigenous people who are one of the most ancient humankind), only science and the sense of modernism take roots. People’s sufferings are contemplated in the language of causality. Nonetheless, it is far from Buddhist causality, but rather some sort of scientific cause, believing that everything can be under control. I'll give you an example.

I once had an aussie 'guest' in Bangkok. I took him to Isan for a trip. After having seen so many temples in contrast to the apparent poverty, he then inquired;
'People are poor here, but why do they still build these temples? why don't they just spend money on other 'necessary' things to improve their livelihood?"

Although fairly irritated by his ignorance, I came to an understanding. Temples, for him, constitute no material meaning, but just 'temples' which don't really alleviate hunger or the lack of school education. However, for these 'poor' people, temples fill in their spiritual meanings. They are not just temples, but the place for people's mind and spirit. These are places where lives are made meaningful. They are made related to something unknown, powerful, and yet respectful. If things go wrong, just blame your bad karma, the misfortunes caused by the supernatural, but never much of yourself. There are unknown sources of suffering out there. At the end of the day, your being is partially controllable. More importantly, you don't encounter the difficulties alone. Afterall someone/something out there is looking after you, regardless of whether or not you are taken care by human felllows. In this way, life is bearable. It is more or less meaningful. Unfortunately, modern women and men in the wealthy cities and countries are blind to this fact...

Now you see why I am so sad when my neighbour committed suicide?